วัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้
วัฒนธรรมที่คนเกาหลีทำและไม่ทำ
1.
การทักทาย
คนเกาหลีทำ :
การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ
ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น
จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเองคนเกาหลีไม่ทำ :
การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร
นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลาสำหรับในเรื่องของการทักทายของคนเกาหลีก็จะมีวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันกับคนไทยอยู่มาก
จะแตกต่างกันตรงที่คนเกาหลีจะก้มศีรษะ แต่บ้านเราจะเป็นการไหว้
แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
การทักทายด้วยการกอดหรือการจับมือ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างบุคคล
แต่ถ้าพบกับผู้ใหญ่ก็ยังคงวัฒนธรรมการทำความเคารพไว้เสมอ
2.
การเรียกผู้อื่น
คนเกาหลีทำ :
การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว
เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่บอาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ
ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี)
ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า)
ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น
แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้
หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน
การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า
님 (นิม
: เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง)
ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์
(선생님 อ่านว่า
ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่า “คุณ”
(씨 อ่านว่า
ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า
ฮานึลชี)
*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย
SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่า
“อีซูมานซอนแซงนิม” ซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ
*สิ่งที่คนเกาหลีไม่ทำ
: จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า 너 (นอ)
ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอเพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคน
เกาหลีอีกอย่างคือการเรียกชื่อ
บ้านเราไม่ว่าจะสนิทกันมากหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเรียกชื่อเล่นได้
ในขณะที่คนเกาหลีจะต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันหรือได้รับ
การอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะสามารถเรียกชื่อเล่นกันได้
3.
การรับประทานอาหาร
คนเกาหลีทำ :
ใช้ตะเกียบโลหะกับช้อนยาวโดยใช้ช้อนรับประทานข้าวซุป และสตูว์
และใช้ตะเกียบกับเครื่องเคียงแบบอาหารแห้ง เคี้ยวอาหารหรือซดน้ำซุปเสียงดัง
เพื่อแสดงความอร่อย (คล้ายวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น)
วางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะเมื่อทานเสร็จ แล้วน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหารและบริการผู้น้อย
ก่อนจะรับประทานอาหาร
ต้องรอให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นฝ่ายบอกเริ่มการรับประทานอาหารเสมอ
เมื่อมีคนรินเครื่องดื่มให้ก็ควรรินกลับเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ
ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดต้องเป็นคนรินเครื่องดื่มให้ผู้อาวุโส
กว่าเสมอและต้องรินด้วยสองมือ
คนเกาหลีไม่ทำ :
ใช้ช้อนและตะเกียบพร้อมกัน ปักตะเกียบไว้ในชามข้าว
เพราะถือว่าเป็นการเซ่นไหว้คนตาย ยกจานหรือชามขึ้นมาขณะรับประทานอาหาร
การพูดคุยระหว่างมื้ออาหารที่มากเกินไป การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหาร
ลุกจากโต๊ะอาหารก่อนที่ผู้อาวุโสที่สุดจะรับประทานเสร็จ
รินเครื่องดื่มให้ผู้อื่นขณะที่เครื่องดื่มในแก้วยังไม่หมดในข้อนี้ก็เป็นมารยาทขั้นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันอยู่แล้ว
คนเกาหลีนั้นจะให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมารยาทที่คน
อายุน้อยกว่าจะต้องเคารพผู้ที่อาสุโสกว่าไม่ว่าจะเป็นด้านอายุหรืออาชีพการงาน
4.
การแสดงออก
คนเกาหลีทำ :
การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพโอบกอดในที่สาธารณะทำเฉพาะกรณีเพื่อการล่ำลา
แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวเกาหลีจะแสดงแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวังรอบ
คอบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเกิดการเข้าใจหรือตีความหมายผิด
คนเกาหลีไม่ทำ :
การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ (เช่น กอด, จูบ)
ถูกเนื้อต้องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณศีรษะนอกจากจะแสดงความเอ็นดูต่อเด็กเล็กๆ
เท่านั้น คุยโวโอ้อวดความสามารถของตนเอง
แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาทิ้งขยะบนท้องถนนเพราะค่าปรับแพง
5.
การใช้มือ
คนเกาหลีเวลาที่จะมอบและรับสิ่งของหรือรับสิ่งของจากผู้ใหญ่จะทำโดยการใช้มือทั้งสองมือในการรับ
ถ้ารับของจากผู้ใหญ่โดยใช้มือเดียวจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
อ้างอิงจาก
รูปภาพจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น