วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความที่4เรื่อง ขนมชั้น


ขนมไทยอะไรเอ่ย ?


ขนมชั้นใบเตย
        ขนมชั้น เป็นขนมไทยอีกหนึ่งอย่างที่นิยม กินเป็นอย่างมาก เพราะหาซื้อได้ง่าย ๆ มีเนื้อที่เหนียวนุ่ม รสชาติหวานละมุน หอมกลิ่นใบเตย มีหลายแบบให้เลือก
ส่วนผสม
-       น้ำตาลทราย 2 1/2  ถ้วย
-      น้ำกะทิ ถ้วย
-      แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วย
-      แป้งมันสำปะหลัง 1/2 ถ้วย
-      แป้งท้าวยายม่อม 1 1/2  ถ้วย (หรือแป้งถั่วเขียว)
-      น้ำใบเตยคั้นเข้มข้น 1/2 ถ้วย
-      น้ำหอมกลิ่นมะลิผสมน้ำ 1/2 ถ้วย
-      ถาดหรือพิมพ์สี่เหลี่ยมสำหรับนึ่งขนม (ขนาด 10x10 นิ้ว หรือ 8x8 นิ้ว)
วิธีทำ
1. ใส่น้ำตาลทรายและกะทิลงในหม้อ คนผสมให้เข้ากัน นำขึ้นตั้งไฟปานกลางประมาณ 5 นาที จนน้ำตาลทรายละลาย (ไม่ต้องรอให้เดือด) ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น
  2. นึ่งถาดหรือพิมพ์ในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด ประมาณ 15 นาที เตรียมไว้

   3. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง และแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกัน ค่อย ๆ เทส่วนผสมน้ำกะทิลงไป ใช้มือนวดแป้งให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว นวดประมาณ 15 นาที จนแป้งไม่จับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำไปกรองด้วยตะแกรง

   4. แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และถ้วยที่ 2 ผสมกับน้ำมะลิ คนผสมให้เข้ากัน เตรียมไว้

  5. ทำชั้นที่ 1 โดยเทส่วนผสมสีขาว (เทส่วนผสมทุกชั้นประมาณ 1/3 ถ้วย) ลงในพิมพ์ ปิดฝา นึ่งประมาณ 5 นาที เปิดฝา เทส่วนผสมสีเขียวลงไป ปิดฝา นึ่งประมาณ 5 นาที ทำซ้ำเช่นเดิม สลับชั้นกันจนหมดแป้ง จะได้ประมาณ 9-10 ชั้น โดยชั้นสุดท้าย ให้นึ่งประมาณ 7 นาที ยกออกจากชุดนึ่ง วางพักทิ้งไว้จนเย็นสนิท (ประมาณ 3 ชั่วโมง)

6. นำขนมออกจากถาด จุ่มมีดลงในน้ำร้อน กดลงบนขนมเป็นชิ้น ๆ จัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ





วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความเรื่องที่3 วัฒนธรรมของเกาหลีใต้


วัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้



วัฒนธรรมที่คนเกาหลีทำและไม่ทำ


1. การทักทาย
คนเกาหลีทำ : การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเองคนเกาหลีไม่ทำ : การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลาสำหรับในเรื่องของการทักทายของคนเกาหลีก็จะมีวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันกับคนไทยอยู่มาก จะแตกต่างกันตรงที่คนเกาหลีจะก้มศีรษะ แต่บ้านเราจะเป็นการไหว้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การทักทายด้วยการกอดหรือการจับมือ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างบุคคล แต่ถ้าพบกับผู้ใหญ่ก็ยังคงวัฒนธรรมการทำความเคารพไว้เสมอ



2. การเรียกผู้อื่น
คนเกาหลีทำ : การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่บอาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี) ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า) ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้ หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน
การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า (นิม : เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง) ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์ (선생님 อ่านว่า ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่า คุณ” ( อ่านว่า ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า ฮานึลชี)
*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่า อีซูมานซอนแซงนิมซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ
*สิ่งที่คนเกาหลีไม่ทำ : จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า (นอ) ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอเพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคน
เกาหลีอีกอย่างคือการเรียกชื่อ บ้านเราไม่ว่าจะสนิทกันมากหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเรียกชื่อเล่นได้ ในขณะที่คนเกาหลีจะต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันหรือได้รับ การอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะสามารถเรียกชื่อเล่นกันได้



3. การรับประทานอาหาร
คนเกาหลีทำ : ใช้ตะเกียบโลหะกับช้อนยาวโดยใช้ช้อนรับประทานข้าวซุป และสตูว์ และใช้ตะเกียบกับเครื่องเคียงแบบอาหารแห้ง เคี้ยวอาหารหรือซดน้ำซุปเสียงดัง เพื่อแสดงความอร่อย (คล้ายวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น) วางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะเมื่อทานเสร็จ แล้วน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหารและบริการผู้น้อย ก่อนจะรับประทานอาหาร ต้องรอให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นฝ่ายบอกเริ่มการรับประทานอาหารเสมอ เมื่อมีคนรินเครื่องดื่มให้ก็ควรรินกลับเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดต้องเป็นคนรินเครื่องดื่มให้ผู้อาวุโส กว่าเสมอและต้องรินด้วยสองมือ
คนเกาหลีไม่ทำ : ใช้ช้อนและตะเกียบพร้อมกัน ปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะถือว่าเป็นการเซ่นไหว้คนตาย ยกจานหรือชามขึ้นมาขณะรับประทานอาหาร การพูดคุยระหว่างมื้ออาหารที่มากเกินไป การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหาร ลุกจากโต๊ะอาหารก่อนที่ผู้อาวุโสที่สุดจะรับประทานเสร็จ รินเครื่องดื่มให้ผู้อื่นขณะที่เครื่องดื่มในแก้วยังไม่หมดในข้อนี้ก็เป็นมารยาทขั้นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันอยู่แล้ว คนเกาหลีนั้นจะให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมารยาทที่คน อายุน้อยกว่าจะต้องเคารพผู้ที่อาสุโสกว่าไม่ว่าจะเป็นด้านอายุหรืออาชีพการงาน


4. การแสดงออก
คนเกาหลีทำ : การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพโอบกอดในที่สาธารณะทำเฉพาะกรณีเพื่อการล่ำลา แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวเกาหลีจะแสดงแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวังรอบ คอบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเกิดการเข้าใจหรือตีความหมายผิด
คนเกาหลีไม่ทำ : การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ (เช่น กอด, จูบ) ถูกเนื้อต้องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณศีรษะนอกจากจะแสดงความเอ็นดูต่อเด็กเล็กๆ เท่านั้น คุยโวโอ้อวดความสามารถของตนเอง แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาทิ้งขยะบนท้องถนนเพราะค่าปรับแพง


5. การใช้มือ
คนเกาหลีเวลาที่จะมอบและรับสิ่งของหรือรับสิ่งของจากผู้ใหญ่จะทำโดยการใช้มือทั้งสองมือในการรับ ถ้ารับของจากผู้ใหญ่โดยใช้มือเดียวจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท


อ้างอิงจาก


รูปภาพจาก







วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่8

แบบฝึกหัด
บทที่ 8 (กิจกรรม1)                  กลุ่มที่เรียนที่ 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน           รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล นางสาวเมธาวี มีรสล้ำ         รหัสนิสิต57011313145

1.    ข้อมูลหมายถึง
ตอบ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่  โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น 


2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ
ตอบ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้
ยกตัวอย่างประกอบ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ หมายถึง
ตอบ ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว
ยกตัวอย่างประกอบ สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ


4.สารสนเทศหมายถึง  สารสนเทศ หมายถึง
ตอบ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ   
ตอบ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง คือ ข้อมูล
7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล เป็นการประมวลผลข้อมูล
8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคน เป็น ข้อมูล
9. ผลของการลงทะเบียน เป็น ข้อมูล

10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSection วันอังคาร เป็น  ข้อมูล

แบบฝึกหัดบทที่7

แบบฝึกหัด
บทที่ 7 (กิจกรรม1)                  กลุ่มที่เรียนที่ 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน           รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล นางสาวเมธาวี มีรสล้ำ         รหัสนิสิต57011313145


1.    ข้อมูลหมายถึง
ตอบ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่  โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น 


2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ
ตอบ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้
ยกตัวอย่างประกอบ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ


3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ หมายถึง
ตอบ ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว
ยกตัวอย่างประกอบ สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ


4.สารสนเทศหมายถึง  สารสนเทศ หมายถึง
ตอบ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ   
ตอบ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ

6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง คือ ข้อมูล
7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล เป็นการประมวลผลข้อมูล
8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคน เป็น ข้อมูล
9. ผลของการลงทะเบียน เป็น ข้อมูล

10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSection วันอังคาร เป็น  ข้อมูล

แบบฝึกหัดบทที่6

แบบฝึกหัด
บทที่ 6 (กิจกรรม1)                  กลุ่มที่เรียนที่ 2
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน           รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล นางสาวเมธาวี มีรสล้ำ         รหัสนิสิต57011313145

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทศโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
 1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
 2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
 3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
 4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
    1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
    2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้

    3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่           4. ถูกทุกข้อ